คีลอยด์ จัดอยู่ในประเภทของรอยแผลเป็นชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นแผลนูนมีการขยายใหญ่ออกนอกขอบเขตบาดแผลเดิม แผลจะมีสีที่แตกต่างกันออกไป เช่น สีแดง สีคล้ำ สีช้ำ บริเวณแผลเป็นส่วนใหญ่จะมีอาการคัน บางคนมีอาการเจ็บ รู้สึกผิวตึงรั้งร่วมด้วย แม้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ แต่ส่งผลด้านความสวยงามและสภาพจิตใจได้
สาเหตุการเกิดแผลคีลอยด์
โดยทั่วไปผิวหนังมีกระบวนการซ่อมแซมบาดแผลตามธรรมชาติ 3 ระยะด้วยกัน ซึ่งสาเหตุของการเกิดแผลคีลอยด์ มาจากความผิดปกติของกระบวนการรักษาแผล คือมีการสร้างเนื้อเยื่อและคอลลาเจนที่มากเกินไป จนเกิดความไม่สมดุลของคอลลาเจนและเกิดเป็นแผลนูนในที่สุด
ปัจจัยที่ทำให้เกิดแผลคีลอยด์ ?
รักษาแผลคีลอยด์ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด…
การรักษาแผลเป็นคีลอยด์ คนไข้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีผลข้างเคียงในระบบอื่นของร่างกาย หลังจากการรักษาแผลคีลอย์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ บริเวณที่เป็นแผลคีลอยด์จะยุบลงกลับมาใกล้เคียงเดิม การดูแลรักษาแผลคีลอยด์หลังการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นอย่างดีจะช่วยลดโอกาสในการเกิดแผลเป็นคีลอยด์ซ้ำได้ ทั้งนี้ผลลัพธ์ของการรักษานั้นจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวิธีการรักษา แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนัง เพื่อวินิจฉัยและให้การรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม
วิธีรักษาแผลเป็น คีลอยด์ ที่ ณ คลินิก
ใช้วิธีการฉีดยาเสตียรอยด์ (Intra lesional corticosteroid) ซึ่งเป็นการรักษาด้วยวิธีมาตรฐาน ซึ่งแพทย์จะใช้ยา Triamcinolone acetonide ฉีดเข้าไปในบริเวณที่เป็นแผลคีลอยด์โดยตรง ตัวยามีฤทธิ์ลดการอักเสบ กดการทำงานของเซลล์ผิวทุกชนิด หลังฉีด แผลคีลอยด์จะยุบลง มีความนุ่มขึ้น หายเจ็บหายคัน สามารถผสมยาชาเพื่อลดความเจ็บในระหว่างฉีดได้ ระยะห่างในการฉีดยาประมาณ 4-6 สัปดาห์ เมื่อแผลคีลอยด์ดีขึ้นสามารถติดตามการรักษาในระยะเวลาที่ห่างขึ้นได้